ด้วยต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งหลายชุมชนในจังหวัดน่าน ยังคงช่วยกันรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน สะท้อนผ่านวิถีชีวิตผู้คน และถ่ายทอดผ่านงานศิลปะเชิงช่าง หัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ เป็นอัตลักษณ์เสริมศักยภาพของเมืองน่าน ทำให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดน่าน พยายามผลักดันให้จังหวัดน่าน เข้าร่วมการเป็นเครือข่ายสมาชิกของยูเนสโก
ไปสัมผัสเสน่ห์วิถีชีวิตชุมชนที่ทุกคนร่วมใจกันพัฒนาเมืองด้วยการท่องเที่ยว ด้วยการนำศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับบริการและกิจกรรมสร้างสรรค์ ร่วมสร้างประสบการณ์แบบใหม่
สวยดอกไม้ คือการทำกรวยดอกไม้ที่ใช้ใบตองม้วนขดเป็นทรงกรวยเรียวแหลม บรรจุดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองเคารพเลื่อมใส
การเขียนตั๋วเมือง หรือการเขียนอักษรล้านนาโบราณ ในอดีตจะเขียนลงใบลาน ประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มงคล ปัจจุบันจึงได้นำกลับมาฟื้นฟู และอนุรักษ์ด้วยการถ่ายทอดสู่ลูกหลาน และยังได้นำมาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว สามารถให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก และเรียนรู้ตัวอักษรล้านโบราณ
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร หรือ “Gastronomy Tourism” กำลังเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่อยู่ในกระแส และหากเราเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยว กับอาหารแล้ว อาหารถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการนำเสนอ อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่ผสมผสานธรรมชาติ วัฒนธรรม การบริการ การเข้าถึงทรัพยากรท่องเที่ยว และสามารถถ่ายทอดเสน่ห์อัตลักษ์ของตัวเอง มารวมเป็นประสบการณ์ ให้กับนักท่องเที่ยว
น่าน เดินหน้าขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก
การท่องเที่ยว ในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของจังหวัดน่าน โดยผ่านกิจกรรม พื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space)
อพท.6 ดึงมือโปรปั้นย่านสร้างสรรค์ระดับประเทศ ติวเข้มเครือข่ายสอนปั้น "หัวเวียงใต้" เป็นย่านสร้างสรรค์เมืองน่าน
อพท.6 ร่วมกับ เครือข่ายเยาวชน จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดน่านที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวภายในเมือง
น่าน - อพท.น่าน เปิดเวทีเผยแพร่ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ระดมภาคีเครือข่ายร่วมคิดและขับเคลื่อน
"กาดกำแพงเมืองเก่าน่าน" สร้างบรรยากาศเมืองวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เตรียมความพร้อมเข้าประเมินการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO
เข้าร่วมกิจกรรมการงาน "Chiang Mai Creative Cities Network Forum 2021" วันที่ 8 - 10 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมนิมมาน คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.เชียงใหม่
ผ้าตาโก้ง ผ้าที่ถูกส่งต่อผ่านรุ่นสู่รุ่นด้วยลวดลายในเนื้อผ้าสะท้อนผ่านวิถีชีวิตชุมชนเพราะทุกครั้งที่ชาวนาซาวทอผ้าตาโก้งจะมีความรู้สึกว่าปู่ย่าตายาย
โคมมะเต้า (โคมหม่าเต้า) มรดกทางวัฒนธรรมของชาวน่าน ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเสริมสิริมงคล ปัจจุบันได้นำโคมมาใช้หลายอย่าง
เครื่องปั้นดินเผา เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตชาวล้านนามาอย่างแนบแน่นเป็นเวลา