ผ้าทอน่าน

3707 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผ้าทอน่าน

สมัยก่อนเมืองน่านเป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวาง ประชากรของเมืองน่านประกอบด้วย คนเมือง หรือ ไทยวน เป็นหมู่ชนที่ถูกเรียกว่า ลาวพุงดำ เนื่องจากพวกผู้ชายจะสักลวดลายด้วยหมึกสีดำตั้งแต่ท้องถึงโคนขา สำหรับผู้หญิงแต่งกายจะนุ่งผ้าซิ่นที่ประกอบด้วยผ้าหน้าแคบเย็บเข้าด้วยกันเป็นถุง ดูรวม ๆ แล้วจะเป็นลวดลายตลอดตัวเกือบกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาวมีลายขวางปลายสุดแขนเสื้อ

ราวๆ ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 การแต่งกายของชาวเมืองน่าน ปรากฏชัดเจนในจิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ลักษณะผ้าทอจะเป็นผืนผ้าที่นำมาต่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งสิ้น จะยกหรือปักเป็นเชิงชายหรือย้อมทอแบบไหนก็ได้ แต่จะคงรูปเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมที่อาจนำมาเย็บต่อเข้าด้วยกันในลักษณะใดก็ได้

1.ซิ่นเชียงแสน เป็นซิ่นพื้นบ้านที่ใช้นุ่งในชีวิตประจำวันของชาวเมืองน่าน ชื่อเรียกของซิ่นชนิดนี้แสดงถึงแหล่งกำเนิดว่าเป็นแบบดั้งเดิมของชาวไทยวนเชียงแสนมาแต่อดีต ลักษณะเป็นผ้าซิ่นฝ้ายลายขวางเย็บ 2 ตะเข็บ สีพื้นหลักคือสีแดงเข้มหรือสีคราม ลายขาวงเป็นสีดำ คราม หรือขาวทอด้วยเทคนิคธรรมดา มีการจัดโครงสร้างของลายขวางบนตัวซิ่นเป็นระยะที่แน่นอน ประกอบด้วยแถบลายใหญ่ 1 แถว สลับกับแถบลายเล็ก 3 แถว ตลอดตัวซิ่น ในแถบลายใหญ่นั้นมีลายริ้วเล็กๆ 5 แถว เป็นส่วนประกอบ ซึ่งลายริ้วเล็ก ๆ นี้นิยมใช้ด้ายควบเส้นระหว่างสีขาวและสีคราม ที่เรียกกันว่า “ปั่นไก” หรือใช้ด้ายมัดก่าน ที่เรียกว่า “ก่านข้อ” คือมัดเป็นข้อๆ ทำให้ลายริ้วนี้มีสีขาวประเป็นจุดๆ ช่วยเน้นให้แถบลายขวางเด่นชัดขึ้นตัดกับสีพื้นหลัก มีการตกแต่งแถบลายใหญ่แถวสุดท้ายก่อนถึงตีนซิ่นด้วยเทคนิคปั่นไก หรือก่านข้อ เป็นพิเศษ ล่างสุดเป็นตีนซิ่นทอต่อเนื่องนิยมสีดำและแดง ส่วนหัวซิ่นต่อด้วยผ้าพื้นสีแดง

2.ซิ่นม่าน เป็นซิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเมืองน่าน ลักษณะเป็นซิ่นลายขวางเย็บ 2 ตะเข็บ ทอด้วยฝ้ายปนไหมและนิยมทอล้ายมุก (ขิด) ด้วยเส้นใยโลหะ (ไหมเงิน ไหมคำ) การจัดองค์ประกอบของลายขวางที่เป็นลายมุก สลับกับสีพื้นมีการจัดช่วงระยะไม่เสมอกัน แต่มีโครงสร้างที่แน่นอน โดยตัวซิ่นทอต่อเนื่องกับตีนซิ่นเย็บเย็บต่อหัวซิ่นด้วยผ้าพื้นสีแดง

วรรณะสีหลักของซิ่นม่าน คือ สีม่วง หรือสีน้ำเงิน มีส่วนบนของตัวซิ่นสลับสี เช่น สีม่วง บานเย็น ดำ คราม เป็นสีที่นิยม คำว่า “ม่าน” จึงมีความหมายถึงลักษณะซิ่นที่มีสีพื้น “จั้ดออน จั้ดเขียว จั้ดแหล้” และมีตาหมู่ 3 – 4 แถว ซึ่งนิยมใช้เส้นใยโลหะทอยกมุก (ขิด) ทำให้ดูแวววาว



3.ซิ่นป้อง เป็นซิ่นลายขวางเย็บ 2 ตะเข็บ ลายขวางทอด้วยเทคนิคขิด (ซึ่งในเมืองน่านจะเรียกเทคนิคชนิดนี้ว่า การเก็บมุก ยกมุก หรือเก็บดอก) มีทั้งที่ทอด้วยฝ้ายล้วน ฝ้ายปนไหม และไหมเงินไหมคำ โครงสร้างของซิ่นป้องในอดีตอาจแบ่งออกได้เป็น 4 แบบใหญ่ ได้แก่

1. ซิ่นป้องตาเหล้ม
2. ซิ่นป้องตาคีบ
3. ซิ่นป้องเคิบไหมคำ
4. ซิ่นป้องก่าน

4.ซิ่นก่าน คือซิ่นที่เด่นด้วยเทคนิคลายมัดก่านหรือมัดหมี่เส้นพุ่ง เป็นซิ่นลายขวางเย็บ2 ตะเข็บ พบในวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ แถบอำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง และอำเภอปัว มีทั้งมัดก่านฝ้ายและมัดก่านไหม สีที่นิยมคือ สีม่วง คราม บานเย็น เขียว ลายมัดก่านเป็นลายเรขาคณิตเลียนแบบลายมุก เช่น ลายดอกจันทร์ ดอกแก้ว ลายกาบ ลายขอ ซิ่นมัดก่านฝ้ายล้วนพบในแถบอำเภอท่าวังผา ซิ่นมัดก่านไหมเส้นยืนเป็นฝ้าย และซิ่นมัดก่านไหมเส้นยืนเป็นไหมพบในแถบอำเภอปัว และอำเภอเชียงกลาง ซิ่นก่านนี้เรียกชื่อว่า ซิ่นมัดก่าน ซิ่นคาดก่าน หรือซิ่นคาด ก็มีโครงสร้างของซิ่นก่านอาจแบ่งย่อยได้3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ซิ่นป้องก่าน
2. ซิ่นม่านก่าน
3. ซิ่นก่านล้วน


5.ซิ่นตีนจก โครงสร้างของผ้าซิ่นชนิดนี้ จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่นเย็บต่อกัน หัวซิ่นเป็นผ้าพื้นสีแดง 1 ชิ้น หรือมี 2 ชิ้น สีแดงและสีขาว ตัวซิ่นเป็นลายขวางเย็บ 2 ตะเข็บ ที่เป็นแบบมาตรฐานคือ ใช้ตัวซิ่นแบบเดียวกับซิ่นป้อง นิยมทอด้วยเส้นใยโลหะจึงเรียกกันว่า ซิ่นไหมคำหรือซิ่นคำเคิบ ส่วนตีนซิ่นเป็นผ้าลายจกเย็บตะเข็บเดียว ผ้าพื้นเป็นสีดำและสีแดงอย่างละครึ่ง โดยจะจกลวดลายเฉพาะส่วนสีดดำ ลวดลายจกเป็นแบบมาตรฐานไทยวน คือ ประกอบด้วย ลายหลักเป็นลายขนาดใหญ่ 1 แถว เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่าลายโคม และมีลายประกอบ 2 – 3 แถว ลายที่นิยม คือ ลายขอ มีลายแบบชายครุยเป็นส่วนล่างสุด ซึ่งตีนจกที่พบในเมืองน่านค่อนข้างมีลักษณะหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่ทอด้วยฝ้าย ฝ้ายปนไหมและนิยมทอด้วยเส้นใยโลหะ (ไหมเงิน ไหมคำ)


หลักฐานผ้าซิ่นตีนจกโบราณในจังหวัดน่าน พบในทุกเขตกระจายอยู่ทั่วไปแต่แหล่งใหญ่ที่พบมี 2 แหล่ง คือ

1. ซิ่นตีนจกในเขตอำเภอเมือง มีทั้งแบบเจ้านายในคุ้ม และกลุ่มคหบดี ซึ่งนิยมทอด้วยไหมและเส้นใยโลหะ (กะไหล่เงินกะไหล่ทอง) ลวดลายเน้นฝีมือประณีต แหล่งทอผ้าตีนจกในเขตอำเภอเมืองในอดีตคือบ้านท่าช้าง และบ้านน้ำเกี๋ยน

2. ซิ่นตีนจกแบบอำเภอเวียงสาและนาน้อย ทั้ง 2 อำเภอ เป็นแหล่งพบผ้าซิ่นตีนจกโบราณ โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา ซึ่งเป็นชุมชนที่มีเชื้อสายลาวและเคยเลี้ยงไหมในอดีต ผ้าซิ่นตีนจกที่พบใน 2 อำเภอนี้มีหลากหลายแบบทั้งที่ทอด้วยเส้นใย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้