image
วิสัยทัศน์การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)

“น่านเมืองประวัติศาสตร์ วิถีพุทธวัฒนธรรม
มรดกหัตถกรรมล้ำค่า
ศิลปะพื้นบ้านนำพา เศรษฐกิจวัฒนธรรมสร้างสรรค์”




การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์น่าน ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน ตามพันธกิจสมาชิกเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ ตามศักยภาพของพื้นที่และสอดคล้องเหมาะสมและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกับบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์น่านสู่ความยั่งยืน

พันธกิจและเป้าหมายการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์

องค์การยูเนสโก ได้เสนอแนวคิดเรื่อง เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (The Creative Cities Networks) เมื่อปี 2547 หรือ ค.ศ. 2004 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือตั้งแต่การพัฒนาในระดับท้องถิ่นนำไปสู่ระดับ นานาชาติ เพื่อสร้างวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้ง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคชุมชน เพื่อสร้างเสริมอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างเมืองต่างๆ จากทั่วโลก เข้าด้วยกัน องค์การยูเนสโก ให้ความสำคัญด้านวัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คน การเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง เครือข่ายเมือง เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสาเร็จและยั่งยืนเมืองสร้างสรรค์ จึงเป็นแนวคิดที่เกิดจากการร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความร่วมมือซึ่งกันและกัน จึงเป็นที่มาของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ UCCN (UNESCO Creative Cities Network)

ความหมายของเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ที่องค์การยูเนสโกให้คำจำกัดความ จึงหมายถึง เมืองที่มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนทั้งนี้เมืองสร้างสรรค์จำแนกได้เป็น 7 สาขา โดยมีสมาชิกเมืองสร้างสรรค์จากทั่วโลก ทั้งสิ้น 301 เมือง จาก 84 ประเทศ (ข้อมูลล่าสุด เมื่อปี 2564)

ประกอบด้วย

1) สาขาวรรณคดี (Literature) จานวน 43 เมือง
2) ด้านการออกแบบ (Design) จานวน 46 เมือง (กรุงเทพฯ เมื่อปี 2562)
3) ภาพยนตร์ (Film) จานวน 21 เมือง
4) ดนตรี (Music) จานวน 61 เมือง
5) หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) 59 เมือง (เชียงใหม่: 2560 และสุโขทัย: 2562)
6) สื่อมีเดียอาร์ต (Media Arts) จานวน 22 เมือง
7) อาหาร (Gastronomy) จานวน 49 เมือง (ภูเก็ต เมื่อปี 2558, เพชรบุรี 2564)

หมายเหตุ: สมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุด เมื่อปี 2564

บทบาทของวัฒนธรรมเป็นประเด็นสำคัญในวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยได้รับการยอมรับจาก 193 ประเทศ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกของเรา ทั้งนี้การสนับสนุนในการบูรณาการงานด้านวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ได้รับการทบทวนและยอมรับให้เป็นส่วนหนี่งของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป้าหมายที่ 11 (SDG11) คือ การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามนโยบายและกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์น่าน ตามกรอบพันธกิจภายใต้การรับรองการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economic Activities Development)

เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าน ให้มีศักยภาพด้านการแข่งขัน ภายใต้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนวัตกรรมสรรสร้างด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้แก่เมืองอย่างยั่งยืน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านการสร้างสรรค์ (Capacity Building & Skill Development of Creativity)

เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทักษะด้านการสร้างสรรค์ รองรับการพัฒนาน่านเมืองสร้างสรรค์ ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน อย่างยั่งยืน ครอบคลุม 4 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรสร้างสรรค์ (Creative People) การพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ (Creative Process) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Products) ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในเมือง (Creative Place) สะท้อนอัตลักษณ์เมืองน่านอย่างเหมาะสม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างโอกาสและการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมทางสังคม (Inclusive Society & Learning Opportunities for All)

เพื่อเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยเฉพาะสำหรับ ผู้บอบบางในสังคม ได้แก่ เยาวชน สตรี และผู้สูงวัย เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ลดปัญหาความยากจน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในระยะยาว อีกทั้งเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับการออกแบบผลงานสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมรองรับความต้องการของตลาดแบบปกติวิถีใหม่ (New Normal Market) การพัฒนาหลักสูตรด้านการออกแบบและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน สำหรับกลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดน่าน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4: การสืบสานและสร้างสรรค์ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Local Wisdom and Creative Development for Crafts & Folk Art)

การพัฒนาศักยภาพของเมืองสร้างสรรค์น่าน ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ด้วยการศึกษาและวิจัยซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และบูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการออกแบบ การพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยการบูรณาการภูมิปัญญาศิลปะพื้นบ้าน ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ รองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเมืองน่าน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับเมืองสร้างสรรค์น่าน (Development of Creative City Infrastructures)

เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับรองรับกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน สำหรับเมืองสร้างสรรค์น่าน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6: การสื่อสารและพัฒนาเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (UCCN Activities and Networking Promotion)

เพื่อส่งเสริมการรับรู้ การสื่อสาร และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเมืองสร้างสรรค์ UCCN ทั้งในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติ เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ และบทบาทของเมืองสร้างสรรค์น่าน ในการแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี ระหว่างเครือข่ายเมืองสมาชิก เพื่อสืบสานและต่อยอดงานหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านของเมืองน่านให้เป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางในเวทีระดับโลก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ครอบคลุมพันธกิจและกิจกรรมตามพันธกิจระหว่างสมาชิกเมืองสร้างสรรค์เครือข่าย UNESCO Creative Cities Network (UCCN)

 
image
image


image


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้